วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท



      คงไม่สายเกินไปที่จะมาพูดเรื่องนี้ ถึงแม้ว่ารัฐจะได้บังคับใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ไปแล้ว เพราะยังคงมีอีกหลายเรื่องที่ต้องสะสาง ทั้งการบังคับใช้ให้เกิดขึ้นจริงๆ และมาตรการที่จะช่วยบรรเทาภาระนายจ้าง 300 บาท มาจากไหน ใครๆ ก็รู้ว่าเป็น magic number ที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียงแข่งกับค่าจ้างขั้นต่ำ 250 บาท ของพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนเรื่องให้เท่ากันทั่วประเทศนั้นเกิดจากการผลักดันของฝ่ายแรงงาน ถามว่าเมื่อตอนหาเสียงนั้นมีการศึกษาผลกระทบ ผลดี ผลเสียก่อนอย่างไรหรือไม่ ผู้เขียนเดาว่าไม่

      การศึกษาผลกระทบต่างๆ เพิ่งมาทำหลังจากที่พรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาลและประกาศนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ชัดเจน ส.อ.ท. (สายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ศึกษาเมื่อ เดือนกรกฎาคม ปี 2554 เรื่อง ?การศึกษานโยบายค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 30 บาท ต่อวันทั่วประเทศกับผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศไทย? รายนี้อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ เพราะคงสะท้อนความเห็นนายจ้างเป็นหลัก ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มี ?รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน? ปี (2554) รายนี้ชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจที่จะกระทบมากคือ SMEs แต่ไม่ได้บอกว่าเฉพาะ SMEs ในระบบหรือรวมถึงนอกระบบด้วย มีการคำนวณต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วยใน SMEs ขนาดต่างๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ดร.สมศจี ศิกษมัต-ไม่ทราบปีที่ศึกษา แต่มีการอ้างอิงงานของ สสว.แสดงว่าทำทีหลัง สสว.) เรื่อง ?ผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท? รายนี้เป็นการศึกษามหภาคโดยใช้โมเดล CGE 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น